RULES

ระบบแต้มต่อโลก (World Handicap System) คืออะไร

BY ON February Thu, 2020 07:34

ระบบแต้มต่อโลก (World Handicap System) คืออะไร

กอล์ฟมีกฎการเล่นชุดเดียวกัน มีกฎเรื่องอุปกรณ์ชุดเดียวกัน และมีกฎเรื่องสถานภาพนักกอล์ฟสมัครเล่นชุดเดียวกันที่ดูแลโดย USGA และ R&A แต่ปรากฎว่าทุกวันนี้ทั่วโลกมีระบบการคิดแต้มต่อ รวม 6 แบบ แต่ละแบบมีการพัฒนาและใช้ในท้องถิ่นที่ได้ผลเป็นอย่างดี แต่ทั้ง 6 แบบนั้นทำให้มีผลลัพธ์ในการคำนวณแต้มต่อที่แตกต่างกัน ระบบแต้มต่อโลก จะรวมวิธีคิดแต้มต่อทั้ง 6 แบบที่มีอยู่เข้าด้วยกัน เพื่อ:

- ทำให้นักกอล์ฟที่มีมาตรฐานการเล่นที่แตกต่างกันสามารถเล่นและแข่งขันด้วยความยุติธรรมและเสมอภาค ในทุกรูปแบบการเล่น ในทุกสนาม ในทุกสถานที่ทั่วโลก

- เข้าใจและปฏิบัติง่าย โดยไม่หลงประเด็น และ

- ลงตัวต่อความจำเป็นและความคาดหวังที่หลากหลายของนักกอล์ฟ ชมรม และเจ้าหน้าที่ ทั่วโลก และสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อวัฒนธรรมการเล่น

หลังจากบรรลุข้อตกลงและความร่วมมือจากองค์กรที่ดูแลเรื่องแต้มต่อที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดและสมาคมแห่งชาติต่างๆ จึงสรุปเป็นข้อตกลงร่วมกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะนำระบบแต้มต่อที่แตกต่างกันทั้งหมดนั้น รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อสนับสนุนการเล่นทั่วโลก

นอกจากนั้น โครงการนี้ยังได้เปิดโอกาสให้องค์กรที่ดูแลเรื่องแต้มต่อในปัจจุบันทั้งหมดมาร่วมกันเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อสร้างระบบใหม่ที่ทันสมัยและเหมาะสมแก่การเล่นทั่วโลกในปัจจุบัน

ระบบแต้มต่อโลก จะรวมเข้าไว้ทั้งหมดทั้งเรื่องกฎแต้มต่อ และ ระบบคอร์ส เรทติ้ง (เดิมคือ ระบบ คอร์สเรทติ้งและ สโลป ของ USGA)

ระบบแต้มต่อโลก มีประโยชน์อะไร

ปัจจุบันโลกเล็กลงโดยมีจำนวนการเล่นระดับนานาชาติที่มากขึ้น (แสดงให้เห็นโดยการกลับมาของกีฬาโอลิมปิคในปี 2016) เราเชื่อว่าการพัฒนาระบบแต้มต่อให้เป็นหนึ่งเดียว จะทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการในการแข่งขันระดับนานาชาติ และ เปิดโอกาสให้สมาคมแห่งชาติต่างๆมุ่งความสนใจไปในการพัฒนาและวางแผนกลยุทธ์ในการส่งเสริมกีฬานี้ และสร้างโอกาสในการประเมินสถิติการเล่นเป็นรายบุคคลของนักกอล์ฟ เพื่อช่วยดูแลความแข็งแรงของกีฬานี้

แต้มต่อที่มีอยู่เดิมจะใช้ในระบบแต้มต่อโลกอย่างไร และ แต้มต่อของตนเองที่มีอยู่จะเปลี่ยนหรือไม่เมื่อมีการเริ่มใช้ระบบใหม่

สกอร์เดิมที่บันทึกไว้จะเหมือนเดิม และ หากเป็นไปได้ จะใช้ในการคำนวณแต้มต่อตามระบบแต้มต่อโลกด้วย ผู้เล่นส่วนใหญ่จะมีแต้มต่อที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยเท่านั้น เพราะการคำนวณมาจากรูปแบบที่ใกล้เคียงกับระบบแต้มต่อโลก อย่างไรก็ตามจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง รวมถึงสกอร์ที่สามารถหามาได้เพื่อใช้ในการคำนวณแต้มต่อ สมาคมแห่งชาติต่างๆจะได้รับการสนับสนุนให้เป็นผู้สื่อสารถึงชมรม และนักกอล์ฟ เช่น การมีสกอร์ของการเล่นหลายรอบในบันทึกในช่วงที่มีการเปลี่ยนระบบแต้มต่อ นักกอล์ฟจะรู้สึกถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นน้อยมาก

ระบบแต้มต่อโลก จะมีผลกระทบต่อการเล่นในประเทศหรือภูมิภาคของผู้เล่นหรือไม่

เราไม่มีความตั้งใจที่จะบังคับให้มีความเปลี่ยนแปลงในการเล่นทั่วโลก หรือพยายามทำให้แตกต่างจากเดิม วัฒนธรรมที่แตกต่างในการเล่นที่มีอยู่ รูปแบบการเล่นที่แตกต่าง รวมถึงระดับมาตรฐานการเล่นที่แตกต่าง คือสิ่งที่ทำให้กีฬานี้น่าสนใจอย่างมาก จากความร่วมมือของสมาคมแห่งชาติทั่วโลก เป้าหมายคือพยายามจัดให้วัฒนธรรมที่แตกต่างกันนั้น รวมอยู่ในระบบแต้มต่อโลก

ระบบแต้มต่อโลกได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่ดูแลแต้มต่อที่มีอยู่ และสมาคมฯแห่งชาติต่างๆ ทั่วโลก หรือไม่

ได้รับการสนับสนุน โดยมีการจัดบรรยายสรุปไปทั่วโลกในปี 2015 ซึ่งตั้งเป้าที่จะทำให้ครอบคลุมสมาคมแห่งชาติต่างๆให้มากที่สุด ซึ่งได้รับผลการตอบรับที่ดีมาก ซึ่งมีคุณค่ามากในการให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบแต้มต่อโลก

ได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่างๆที่ดูแลแต้มต่อ และสมาคมแห่งชาติต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องในการสนับสนุนโดยตรงกับการเริ่มต้นนี้

องค์กรที่ดูแลแต้มต่อทั้ง 6 องค์กรที่มีอยู่ ได้เริ่มขั้นตอนภายในของตนเองในการพิจารณาอนุมัติ และทุกองค์กรได้ตอบยืนยันในการสนับสนุนระบบใหม่นี้ ในขณะที่ R&A และ USGA จะดูแลระบบแต้มต่อโลกอย่างใกล้ชิด การบริหารจัดการในปัจจุบันของแต้มต่อยังคงเป็นความรับผิดชอบขององค์กรที่ดูแลแต้มต่อที่มีอยู่ และแต่ละสมาคมแห่งชาติ

ท่านได้ให้คำปรึกษาแก่นักกอล์ฟ และผู้บริหารชมรม เกี่ยวกับระบบแต้มต่อโลก หรือไม่

ได้ให้คำปรึกษา เราได้ขอความเห็นจากนักกอล์ฟ ผู้บริหารสนามกอล์ฟจากทั่วโลก โดยวิธีการส่งการแบบสำรวจทาง on line ซึ่งเราได้รับคำตอบกลับมา 52,000 ราย เราได้จัดประชุมกลุ่มหลายครั้งใน 5 แห่งในทวีปยุโรป อเมริกา และทวีปอเมริกาใต้ ผลตอบรับเป็นผลบวกเป็นอย่างดี ตัวอย่าง ร้อยละ 76 สนับสนุน ร้อยละ 22 ยังไม่ตัดสินใจ และมีเพียงร้อยละ 2 ที่ไม่สนับสนุน

เมื่อใด จะเริ่มใช้ระบบแต้มต่อโลก

เรามีแผนที่จะทำให้ระบบแต้มต่อโลก มีผลและเริ่มใช้โดยสมาคมแห่งชาติต่างๆ เมื่อเริ่มต้นปี 2563 หลังจากมีการทดลองใช้ สื่อสาร ส่งเสริม และให้ความรู้ อย่างทั่วถึง

มีข้อมูลใดเกี่ยวกับระบบแต้มต่อโลก ที่ท่านสามารถส่งต่อหรือไม่

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบแต้มต่อโลก จะออกมาในเดือนหน้า อย่างไรก็ตาม เราต้องการเน้นว่า จะเป็นการออกแบบเพื่อให้ใช้ง่ายและครอบคลุมให้มากที่สุด เพื่อทำให้นักกอล์ฟได้รับความสะดวก เที่ยงตรง และมีความสม่ำเสมอ

ตัวอย่าง นักกอล์ฟจะสามารถได้รับแต้มต่อหลังจากได้ส่งจำนวนครั้งของสกอร์ที่ทำได้ครบจำนวนครั้งน้อยครั้งที่สุดที่กำหนดไว้ ข้อแนะนำน้อยสุด คือ สกอร์การเล่น 18 หลุม จำนวน 3 ครั้ง / สกอร์การเล่น 9 หลุม จำนวน 6 ครั้ง หรือ ทั้งสองแบบรวมกัน โดยรวมได้ 54 หลุม แต้มต่อจะไม่มีการลดลงหลังช่วงเวลาที่ไม่มีการส่งสกอร์อีกและแต้มต่อมากสุดคือ 54 โดยไม่จำกัดเพศ ส่วนประกอบเหล่านี้เป็นการออกแบบการเล่นให้ชัดเจน ทำให้นักกอล์ฟใหม่รู้สึกยินดีในการเข้าสู่สังคมกอล์ฟ

ในขณะที่ระบบแต้มต่อโลก มีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้นักกอล์ฟในการเข้ามาประเมินและติดตามผลการเล่นของตนเองเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องเป็นการทำให้นักกอล์ฟทั้งหมดสนุกกับการเล่นด้วย ดังนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่แต่ละชมรมต้องมั่นใจว่านักกอล์ฟใหม่ๆที่มีแต้มต่อสูงกว่าจะปรับปรุงการทำสกอร์มากสุดของหลุมและรักษาเวลาการเล่น

จะให้ความรู้อย่างไรและเมื่อไร แก่นักกอล์ฟและผู้บริหารสนามกอล์ฟเกี่ยวกับ ระบบแต้มต่อโลก

การให้ความรู้มีกำหนดเริ่มในเดือนมกราคม 2563 และเราได้มีการเริ่มทำงานพัฒนาวิธีการ ความพร้อมของโลกตามแผนการให้ความรู้เพื่อการดำเนินงานให้สอดคล้อง และการปฏิบัติที่เกิดขึ้น สมาคมแห่งชาติต่างๆจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการให้ความรู้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง

การประกาศระบบแต้มต่อโลก จะมีผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี หรือไม่

วิธีการรับสกอร์และระบบคอมพิวเตอร์ และการคงไว้ของแต้มต่อ ยังคงเป็นการตัดสินใจของแต่ละสมาคมแห่งชาติ แม้ว่าการดำเนินงานของระบบแต้มต่อโลกจะกระทบต่อบริการเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ทั่วโลกในระดับต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หวังว่าผลกระทบดังกล่าวจะมีผลอยู่ในระดับน้อยที่สุด

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องระบบแต้มต่อโลกได้ที่ไหน

สามารถดูได้ที่ เว็ปไซด์ของสมาคมแห่งชาติ หรือ www.randa.org หรือ www.usga.org

ลักษณะสำคัญของระบบแต้มต่อโลก


ลักษณะสำคัญของระบบนี้ ซึ่งรวมถึง
:

- ความยืดหยุ่นของรูปแบบการเล่น อนุญาตให้ใช้รอบการแข่งขันและรอบการเล่นทั่วไป เพื่อจุดประสงค์ในการคำนวณแต้มต่อ และทำให้มั่นใจว่า ดัชนีแต้มต่อนั้นสะท้อนความสามารถของการเล่น

- จำนวนน้อยสุดของจำนวนสกอร์ที่ต้องการเพื่อให้ได้แต้มต่อใหม่ คือ ต้องการ 54 หลุม จากการรวมกันของการเล่นรอบ 18 หลุม หรือรอบ 9 หลุม (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสมาคมแห่งชาติหรือสมาคมภูมิภาค)

- การจำนวนค่าเฉลี่ยของแต้มต่อ ให้ใช้สกอร์ที่ดีที่สุดจากสกอร์ 8 ครั้ง จากการเล่น 20 ครั้ง  และตัวแปรของประวัติความสามารถในการเล่นที่ดีกว่า

- การคำนวณ พิจารณาถึงผลกระทบจากสนามที่ผิดปกติ และสภาพอากาศ ที่อาจมีผลต่อมาตรฐานการเล่นของผู้เล่นแต่ละวัน

- ระยะเวลาที่แต้มต่อมีการเปลี่ยนแปลง

- มีการจำกัดสกอร์ดับเบิลโบกี้ เป็นสกอร์มากสุดของหลุม หรือไม่ (สำหรับการคำนวณแต้มต่อเท่านั้น)

- แต้มต่อมากสุด จำกัดที่ 54.0 โดยไม่คำนึงว่าเพศใด เพื่อส่งเสริมให้นักกอล์ฟจำนวนมากขึ้นได้ประเมินและติดตามผลถึงประสิทธิภาพการเล่นของตนเอง เพื่อเพิ่มความสนุกในการเล่น

 _____________________________________________

ATGT RULES CONSULTANT

Jittisak Tamprasert DOB: 06/05/1959

 

Education:

1982 : Bachelor of Law, Ramkhamhaeng University, Bangkok, Thailand

1999 : TGA Referees School.

2008 : R&A Referees School, St Andrews, Scotland (Distinction Certificate) ระดับ 3 (สูงสุด)

2010 : USGA Rules, New Jersey, USA (Highest Level Certificated) ระดับสูงสุด

2019 : R&A - TARS (Tournament Administrator and Referees Seminar, Level 3) Distinction Certificate

 

Working Experience

1984-1998 : Lawyer

1996 – Present : Member of Thailand PGA (Tournament Player)

1999 – 2002 : Referee in Thailand PGA and TGA events

2002 – 2008 : Asian Tour Referees & All Thailand Golf Tour Tournament Director

2008 - 2010 : Tournament Director – Asian Tour

2010 – Present- Director : Rules and Competitions, Asian Tour, Director – Rules of Thailand PGA, Thailand PGA Vice President

 

Referee’s Experience

The US Masters 2010 : Present

US Open 2012 : Present

The British Open Championship 2010 : Present

The USPGA Players Championship : 2014

WGC World Match Play Championship : 2012 - Present

World Golf Championship : 2008 - Present

World Cup (4 Times)

Presidents Cup (3 Times)

Olympic 2016

Asian Tour & Asian Development Tour events : 2002 - present

Invited to PGA Tour events : 2008 - Present

Co-Sanctioned with European Tour events : 2002 - Present

Co -Sanctioned with Japan Tour events : 2012 - Present

Co – Sanctioned with Sunshine Tour Event : 2017 - Present

Co – Sanctioned with Australasia Tour Events : 2016 - Present

All Thailand Golf Tour events : 2002 – Present

Thailand PGA Tour : 2008 – Present